นายศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนสิงหาคม 2567 ยอดขายตลาดรวม 45,190 คัน ลดลง 25% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตลาดรถยนต์นั่งมีปริมาณการขาย 18,305 คัน ลดลง 22.6% ในขณะที่รถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีปริมาณการขาย 26,885 คัน ลดลง 26.5% และรถกระบะขนาด 1 ตัน ยอดขายทั้งหมด 14,970 คัน ลดลง 39.2%
ประเด็นสำคัญ
ตลาดรถยนต์เดือนสิงหาคม 2567 มียอดขาย 45,190 คัน ลดลง 25% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา กลุ่มตลาดรถยนต์นั่ง ทำยอดขาย 18,305 คัน ชะลอตัวที่ 22.6% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ มียอดขาย 26,885 คัน ชะลอตัวเช่นกันที่ 26.5% และตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน มียอดขาย 14,970 คัน เติบโตลดลง 39.2% ในส่วนของตลาด xEV มียอดขายทั้งหมด17,090 คัน คิดเป็นสัดส่วน 38% ของตลาดรถยนต์ทั้งหมด เติบโตขึ้น 20% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่รถยนต์ HEV ยังคงได้รับความนิยม โดยมียอดขายอยู่ที่ 8,658 คัน เติบโตขึ้น 33% คิดเป็นสัดส่วน 51% ของตลาด xEV และรถยนต์ BEV มียอดขาย 7,654 คัน เพิ่มขึ้น 16% คิดเป็นสัดส่วน 45% ของตลาด xEV ทั้งหมด
ตลาดรถยนต์เดือนกันยายน มีแนวโน้มจะยังคงทรงตัว แต่ยังคงเติบโตลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งอาจเป็นผลมาจากเศรษฐกิจโดยรวมที่ยังคงฟื้นตัวช้า และความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน รวมถึงภาวะอุทกภัย อาจส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนสิงหาคม 2567
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 45,190 คัน ลดลง 25%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 17,843 คัน ลดลง 14.5% ส่วนแบ่งตลาด 39.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 6,145 คัน ลดลง 46% ส่วนแบ่งตลาด 13.6%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 5,005 คัน ลดลง 29.3% ส่วนแบ่งตลาด 11.1%
2.ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 18,305 คัน ลดลง 22.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 5,554 คัน ลดลง 33.5% ส่วนแบ่งตลาด 30.3%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 3,302 คัน ลดลง 24.1% ส่วนแบ่งตลาด 18%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 1,375 คัน เพิ่มขึ้น 48% ส่วนแบ่งตลาด 7.5%
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 26,885 คัน ลดลง 26.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 12,289 คัน ลดลง 1.9% ส่วนแบ่งตลาด 45.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 6,145 คัน ลดลง 46% ส่วนแบ่งตลาด 22.9%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 1,703 คัน ลดลง 37.8% ส่วนแบ่งตลาด 6.3%
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*)
ปริมาณการขาย 14,970 คัน ลดลง 39.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 7,086 คัน ลดลง 29.2% ส่วนแบ่งตลาด 47.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 5,275 คัน ลดลง 47.2% ส่วนแบ่งตลาด 35.2%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 1,501 คัน ลดลง 49.2% ส่วนแบ่งตลาด 10%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 2,667 คัน
อีซูซุ 1,158 คัน – โตโยต้า 822 คัน – ฟอร์ด 542 คัน – มิตซูบิชิ 113 คัน – นิสสัน 32 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 12,303 คัน ลดลง 37.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 6,264 คัน ลดลง 21.4% ส่วนแบ่งตลาด 50.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 4,117 คัน ลดลง 51.1% ส่วนแบ่งตลาด 33.5%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 959 คัน ลดลง 47.5% ส่วนแบ่งตลาด 7.8%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – สิงหาคม 2567
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 399,611 คัน ลดลง 23.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 151,907 คัน ลดลง 14.7% ส่วนแบ่งตลาด 38%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 59,189 คัน ลดลง 45.9% ส่วนแบ่งตลาด 14.8%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 53,946 คัน ลดลง 11.2% ส่วนแบ่งตลาด 13.5%
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 154,194 คัน ลดลง 20.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 44,131 คัน ลดลง 34.6% ส่วนแบ่งตลาด 28.6%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 30,555 คัน ลดลง 23% ส่วนแบ่งตลาด 19.8%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 12,345 คัน เพิ่มขึ้น 6.5% ส่วนแบ่งตลาด 8%
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 245,417 คัน ลดลง 25.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 107,776 คัน ลดลง 2.7% ส่วนแบ่งตลาด 43.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 59,189 คัน ลดลง 45.9% ส่วนแบ่งตลาด 24.1%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 23,391 คัน เพิ่มขึ้น 11% ส่วนแบ่งตลาด 9.5%
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*)
ปริมาณการขาย 139,532 คัน ลดลง 40%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 64,144 คัน ลดลง 29.2% ส่วนแบ่งตลาด 46%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 51,711 คัน ลดลง 47.7% ส่วนแบ่งตลาด 37.1%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 14,730 คัน ลดลง 43% ส่วนแบ่งตลาด 10.6%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 24,481 คัน
โตโยต้า 8,736 คัน – อีซูซุ 8,247 คัน – ฟอร์ด 5,564 คัน – มิตซูบิชิ 1,656 คัน – นิสสัน 278 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 115,051 คัน ลดลง 39.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 55,408 คัน ลดลง 26.2% ส่วนแบ่งตลาด 48.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 43,464 คัน ลดลง 48% ส่วนแบ่งตลาด 37.8%